บริการ และ ประเภท (Categories) งานป้ายที่ D&G รับทำ

1. งานพิมพ์ Inkjet, งานพิมพ์ขนาดใหญ่และป้ายโฆษณา
(Digital - Wide format - Signage indoor or Outdoor)
และพิมพ์ด้วยหมึก UV

1.1 ป้ายสำหรับติดตั้งภายในอาคาร

ส่วนใหญ่จะเป็นป้ายที่เน้นไปที่ความคมชัดของตัวป้าย เนื่องจากจะเป็นป้ายระยะใกล้
ตัวป้ายจะมีรายละเอียดของเนื้อหาค่อนข้างมาก ป้ายประเภทนี้ได้แก่ - ป้ายสติ๊กเกอร์ตกแต่งร้าน - ป้ายชื่อห้อง - ป้ายชื่อร้าน -
ป้ายบอกทาง - ป้ายเตือน - ป้ายดิสเพลย์ - ป้ายประชาสัมพันธ์ต่างๆ - ป้ายกล่องไฟหน้าร้าน - ป้ายแอลอีดี(LED) นีออนไลท์
ป้ายที่ใช้ภายในอาคาร สามารถใช้วัสดุได้หลากหลาย
เนื่องจากไม่มีปัญหากับสภาพอากาศภายนอก จึงทำให้สามารถดีไซน์วัสดุป้ายได้เกือบทุกชนิด
เช่น - แสตนเลส, ซิงค์, ทองเหลือง, ทองแดง, ไม้, อะคริลิค, พลาสวู๊ด, แผ่นลามิเนต, สติ๊กเกอร์, เนื้อ, PP, ฯลฯ

ป้ายสติ๊กเกอร์ตกแต่งร้าน

ป้ายชื่อร้าน อะคริลิค

ป้ายกล่องไฟหน้าร้าน

ป้ายแอลอีดี(LED) นีออนไลท์

ป้ายโลหะ

ป้ายชื่อร้าน อะคริลิค

1.2 ป้ายสำหรับติดตั้งภายนอกอาคาร

ป้ายประเภทนี้ส่วนมากจะเน้นป้ายขนาดใหญ่ และตัวป้ายต้องมีความทนทานเป็นอย่างมาก
วัสดุจะต้องมีความคงทน ทนต่อแสงแดด ทนต่อน้ำและฝน เนื่องจากตัวป้ายต้องสัมผัสกับสภาพอากาศ และสภาพแวดล้อมภายนอกตลอดเวลา ป้ายภายนอกนี้จะนิยมใช้โฆษณาโปรโมชั่น หรือประชาสัมพันธ์ที่ใช้ข้อความสั้นๆ กระชับ เข้าใจง่าย ป้ายประเภทนี้ได้แก่ ป้ายโครงเหล็กหน้าอาคาร ป้ายแผงตัวซี ป้ายตัวอักษรโลหะขนาดใหญ่ ป้ายบิลบอร์ด ป้ายแบนเนอร์ผนังตึก ป้ายทาวเวอร์ ป้ายเสาตั้ง ป้ายกล่องไฟขนาดใหญ่ ป้ายอลูมิเนียม ป้ายสแตนเลส เป็นต้น

2. Offset Printing Only (ระบบการพิมพ์แบบออฟเซ็ต)

2.1. โปสเตอร์ และสิ่งพิมพ์ประเภทสื่อโฆษณา ณ จุดขาย

เช่น ธงราว โมบาย ตัวตั้งแสดง แผ่นหรือตัวติดที่ชั้นวางของ
(Posters and Point of Purchase Materials such as Mobile, Stands, Head Shelf, and Wobblers)

2.2. ใบปลิว แผ่นพับ แค็ตตาล๊อก

(Leaflets, Flyers, Folders, Brochures, Booklets, Catalogues,) เป็นงานพิมพ์ 4 สี

2.3. การ์ด บัตรอวยพร นามบัตร บัตรเชิญในโอกาส ต่างๆ

(Cards, Greeting Cards, Name Cards, and Invitation Cards)

2.5 ฉลาก สติกเกอร์ ป้ายบรรจุหีบห่อ

(Labels and Tags any process/any substrate) งานปั๊มฟอยล์ปั๊มไดคัทงาน

3. ประเภทการพิมพ์สกรีน

ก็ถือเป็นอีกหนึ่งในหลากหลายกรรมวิธีที่นำมาใช้ในการทำให้เกิดลวดลายบนผ้า
โดยผ้าที่ถูกนำมาใช้ในการพิมพ์สกรีน

3.1 การพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดิจิตอล (Digital printing)

เป็นการพิมพ์ผ้าโดยใช้เครื่องพิมพ์ที่อาศัยหลักการเดียวกับการพิม์กระดาษด้วยเครื่อง Printer ทั่วไป เพียงแต่เปลี่ยนจากกระดาษมาเป็นพิมพ์ตรงลงบนเนื้อผ้า ซึ่งกระบวนการพิมพ์ผ้าด้วยเครื่องพิมพ์ดิจิตอลปัจจุบันมีทั้งที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมและใช้พิมพ์เสื้อสำเร็จรูป ซึ่งการพิมพ์โดยด้วยเครื่องดิจิตอลจำเป็นต้องนำผ้าไปผ่านกระบวนการ Pre-Treat ก่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพิมพ์และต้องมีการอบเคลือบสีหลังจากการพิมพ์ (finishing)เพื่อให้หมึกพิมพ์ติดทนบนเนื้อผ้า

3.2 การพิมพ์ แบบถ่ายโอนความร้อน (Heat Transfer)

เป็นเทคนิคการพิมพ์ลายลงบนกระดาษ แล้วนำไปผ่านกระบวนการกดหรือรีดด้วยความร้อน เทคนิคนี้ได้ถูกต่อยอดมาจากการสกรีนเสื้อเบอร์หมายเลขของนักกีฬา โดยการสกรีนลงบนกระดาษทรานเฟอร์เตรียมไว้ก่อน เมื่อมีออเดอร์มาก็สามารถจะนำเข้าเครื่องรีดความร้อนกดทับสกรีนติดเสื้อได้ทันที จนเข้าสู่ยุคดิจิตอล เทคโนโลยีการพิมพ์ได้พัฒนาไปพร้อม ๆ กับการออกแบบกลไกหัวฉีดหมึกและคุณสมบัติของหมึกที่นำมาใช้พิมพ์ในงานอุตสหกรรมสิ่งพิมพ์ จึงได้เริ่มมีการประยุกต์เอาหลักการสกรีนเสื้อแบบทรานเฟอร์ดั้งเดิมมาใช้ โดยการพิมพ์ลวดลายด้วยเครื่องปริ้นเตอร์แบบ Ink Jet หรือ Laser ลงบนกระดาษทรานเฟอร์แล้วนำไปกดด้วยเครื่องรีดความร้อนเพื่อให้หมึกระเหิดย้อมติดไปบนเสื้อโดยมีแผ่นฟิลม์บนกระดาษเป็นตัวเคลือบยึดเกาะลวดลายกับตัวเสื้ออีกชั้นนึง